-
-
-
-
ฟันคุดเป็นฟันกรามชุดที่ 3 ซึ่งอยู่ด้านหลังสุดของช่องปาก มีลักษณะคล้ายฟันกรามซี่แรกและซี่ที่สอง แต่บางครั้งอาจมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย โดยจะขึ้นเมื่ออายุระหว่าง 17 ถึง 25 ปี เนื่องจากเป็นฟันแท้ซี่สุดท้ายจากทั้งหมด 32 ซี่
หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่าบางครั้งฟันคุดก็งอกไม่ครบทั้ง 4 ซี่ หรือมีหลายคนที่จำเป็นต้องถอนฟันคุด จนอาจมีความสงสัยถึงความจำเป็นของฟันชนิดนี้ โดยคำตอบนั้นมีความเกี่ยวข้องกับอดีตของมนุษย์ และยังเกี่ยวข้องกับปัจจุบันอีกด้วย
-
-
-
-
ขากรรไกรอันทรงพลัง
-
-
-
มนุษย์เรามีลักษณะร่วมกันหลายอย่างกับเหล่าบรรพบุรุษ พวกลิง กอริลลา และชิมแปนซีต่างก็มีฟันคุด สายพันธุ์ที่เรียกว่า ออสตราโลพิเทคัส อะฟาเรนซิส หรือมีชื่อเล่นว่าสายพันธุ์ของลูซี่ ซึ่งอาศัยอยู่เมื่อประมาณ 3 ถึง 4 ล้านปีก่อน
ขากรรไกรและฟันของพวกเขานั้น มีขนาดใหญ่และหนากว่าของมนุษย์เราพอสมควร โดยมีฟันกรามขนาดใหญ่ 3 ซี่ พร้อมเคลือบฟันที่ค่อนข้างหนา และกะโหลกศีรษะของพวกเขานั้นยังแสดงให้เห็นหลักฐานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวที่แข็งแรงมากอีกด้วย
-
-
-
-
มื้ออาหารที่เปลี่ยนแปลง
-
-
เนื่องจากอาหารที่บรรพบุรุษมนุษย์ยุคแรกกิน จำพวกเนื้อดิบและพืช เคี้ยวยากกว่าอาหารในปัจจุบันอย่างมาก นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องมีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรงกว่า โดยพวกเขาได้ทำการวิจัยเพื่อค้นหาว่าบรรพบุรุษที่สูญพันธุ์ไปแล้วกินอะไรเข้าไปกันแน่
อาหารในปัจจุบันมีความนุ่มกว่าในอดีตมาก เนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น เกษตรกรรม การปรุงอาหาร และการเก็บรักษา อาหารที่นิ่มและเคี้ยวง่ายกว่าทำให้ฟันทำงานหนักน้อยลง ด้วยเหตุนี้ขากรรไกรของมนุษย์ในปัจจุบันจึงวิวัฒนาการให้มีขนาดเล็กลงและใบหน้าแบนราบกว่าบรรพบุรุษของเรา เพราะไม่จำเป็นต้องมีฟันใหญ่และแหลมคมเหมือนในอดีตอีกแล้ว
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ มากเป็นเวลาหลายล้านปี จึงทำให้ฟันกรามซี่ที่สามหรือฟันคุดไม่มีความสำคัญเท่าเมื่อก่อนอีกต่อไป
-
-
-
-
ฟันคุดจึงเริ่มหายไป
-
-
-
ปัจจุบันมีผู้คนอยู่ประมาณ 25% ที่ฟันคุดหายไปหนึ่งซี่ ซึ่งเหล่านักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แต่สาเหตุอาจเกี่ยวข้องกับยีนที่ได้รับมาจากพ่อแม่ นักวิทยาศาสตร์บางรายกล่าวว่าการไม่มีฟันคุดถือเป็นข้อดีของมนุษย์ยุคใหม่ เนื่องจากขากรรไกรที่เล็กลงการมีฟันน้อยกว่าจึงดูเป็นเรื่องเหมาะสม ในบางกรณีฟันคุดอาจติดอยู่ภายในกระดูกขากรรไกร ทำให้โผล่ขึ้นมาได้ไม่หมด หรือโผล่ออกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น
ฟันคุดที่เป็นปัญหามักเกิดขึ้นที่ขากรรไกรด้านล่างมากกว่าด้านบน โดยเป็นฟันคุดที่โผล่ขึ้นเพียงบางส่วนจนทำให้ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวด ฟันผุ หรือเหงือกอักเสบจึงจำเป็นต้องถอนฟันคุดกับทันตแพทย์ แต่โดยทั่วไปแล้ว ฟันคุดไม่จำเป็นต้องถอนออก หากฟันขึ้นเต็มที่ในช่องปาก อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และมีความแข็งแรง
หากมีความกังวลหรืออาการปวดฟันคุด สามารถเข้ารับการตรวจช่องปากกับทันตแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาหรือถอนฟันคุดของคุณได้
ปรึกษาและประเมินฟันฟรีได้ คลิกที่นี่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- Facebook
- Twitter
-